ฝึกทักษะ วิชาการ

วิชาภาษาไทย


1.คนเห็นคนเป็นคนนั่นแหละคน คนเห็นคนใช่คนใช่คนไม่
เกิดเป็นคนต้องเป็นคนทุกคนไป จนหรือมีผู้ดีไพร่ไม่พ้นคน”
บทประพันธ์ข้างต้นไม่ปรากฏลักษณะการแต่งแบบใด

1. การเล่นคำซ้ำ
2. การเล่นคำพ้อง
3. การใช้สัมผัสสระอักษร
4. การใช้ปฏิพากย์

จงใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 2-4
“มาทำลายรั้วระวังให้พังราบ มาร่ายเสกมนต์สาปให้หมดเศร้า
มาให้ห่วงคิดถึงทุกค่ำเช้า มาปล้นเอาหัวใจไปหมดแล้ว”
2.น้ำเสียงของผู้แต่งเป็นอย่างไร
1. อาลัย
2. จริงจัง
3. เพ้อฝัน
4. มีความสุข

3.ลักษณะการแต่งที่เด่นที่สุดในบทประพันธ์คือข้อใด
1. สัมผัสสระ
2. สัมผัสอักษร
3. การใช้ภาพพจน์
4. การใช้กลบท

4.บุคคลใดน่าจะเป็นประธานของบทประพันธ์นี้มากที่สุด

1. ทหารที่ออกไปรบ
2. ขโมย
3. นางอันเป็นที่รัก
4. พ่อมด

จงใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 5-7
ขอบคุณ...
ขอบคุณสำหรับโรงบุหรี่
ขอบคุณอีกทีกับโรงหวย
ขอบคุณสนามม้าชาติหน้ารวย
ขอบคุณโรงเหล้าด้วยช่วยชาติไทย
5.ข้อใดเแสดงความรู้สึกของผู้ประพันธ์เด่นชัดที่สุด
1. เกลียดชัง
2. ประชด
3. ชื่นชม
4. ยกย่อง

6.ผู้แต่งมีจุดมุ่งหมายตามข้อใด

1. เตือนให้คิด
2. แนะให้ทำ
3. ติเตียน
4. สั่งสอน

7.คำประพันธ์ในข้อใดใช้น้ำเสียงเหมือนกับคำประพันธ์ข้างต้น

1. ไทยคงเอกราชด้วย ฝีมือ ไทยเอย
2. ขอบคุณไมตรีที่มีให้ ความห่วงใยอาทรแต่ก่อนเก่า
แม้วันนี้ไม่มีทางระหว่างเรา ก็ไม่เศร้าเหงาหรอกใจบอกมา
3. หนึ่งจะต้องอกหักกับรักแรก สองจะต้องไม่แปลกกับรักใหม่
สามจะต้องผิดหวังทุกครั้งไป สี่จะต้องจำไว้รักคือทุกข์
4. จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด จะรักชาติจนชีวิตเป็นผุยผง
จะยอมตายหมายให้เกียรติดำรง จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา

จงใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 8-10
“มิ่งมิตร... เธอมีสิทธิ์ที่จะล่องแม่น้ำรื่น
ที่จะบุกดงดำกลางค่ำคืน ที่จะชื่นใจหลายกับสายลม
ที่จะร่ำเพลงเกี่ยวโลมเรียวข้าว ที่จะยิ้มกับดาวพราวผสม
ที่จะเหม่อมองหญ้าน้ำตาพรม ที่จะขมขื่นลึกโลกหมึกมน”
8.แนวคิดใดไม่ปรากฏในบทประพันธ์นี้
1. สิทธิของมนุษย์
2. ธรรมชาติของชีวิตที่มีทุกข์มีสุขสลับกัน
3. การต่อสู้กับอุปสรรค
4. ความยุติธรรมและความถูกต้อง

9.ในบทร้อยกรองนี้ กวีวางตนไว้ในฐานะอะไร
1. อาจารย์
2. เพื่อน
3. พระ
4. บุคคลอันเป็นที่รัก

10.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะเด่นของคำประพันธ์ข้างต้น
1. ความหมายเชิงสัญลักษณ์ของถ้อยคำ
2. ความง่ายและความงามของบทกลอน
3. การใช้อุปลักษณ์และบุคคลวัต
4. แสดงแนวคิดทางพุทธศาสนา